ข้อมูลเปรียบเทียบ ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบต่อเด็ก : เปรียบเทียบระหว่างเด็กในครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคง, เด็กในครอบครัววิสามัญฆาตกรรม และเด็กในครอบครัวผู้ที่หลบหนี และเด็กในครอบครัวผู้สูญหายซึ่งถือเป็นเด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม กับ เด็กทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ
สามารถเปรียบเทียบได้ 3 ประการ ได้แก่
1. สภาพปัญหา
2. ความต้องการ
3. การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ
1.สภาพปัญหา
เป็นสภาพปัญหาที่เด็กในพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบได้รับผลกระทบต่อสิทธิในมิติความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด 5 ประการ ได้แก่ 1 มิติด้านสุขภาพ 2 มิติด้านการศึกษา3 มิติด้านครอบครัว และ 4 มิติด้านการมีงานทำและรายได้ 5 ด้านการเข้าถึงสิทธิในการช่วยเหลือเยียวยา
มิติความมั่นคงของมนุษย์
เด็กทั่วไป เด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจาก
กระบวนการยุติธรรม
1. ด้านสุขภาพ
เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ พิการ จากเหตุระเบิด ถูกยิง วางเพลิง และถูกทำร้าย ตามลำดับ สุขภาพทางจิตเช่น อาการซึมเศร้าหรือหวาดกลัว ขาดสมาธิ เหม่อลอยฯลฯ
เสี่ยงจากการเป็นเหยื่อเมื่อเกิดเหตุปะทะจนได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ
อารมณ์เกิดภาวะซึมเศร้า ขาดความอบอุ่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิต หวาดระแวง เคยชินต่อความรุนแรง เครียด เสียใจอาลัยเจ็บปวดกับความรู้สึกไม่ยุติธรรม
การศึกษา การเรียนตกต่ำ
ขาดเรียน
ลาออกกลางคัน
เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนด้านการศึกษา
ขาดแคลนครู
โรงเรียนหยุดบ่อย เนื่องจากเหตุการณ์
โรงเรียนและอุปกรณ์การศึกษาถูกทำลายจากเหตุการณ์ ขาดทุนทรัพย์
ขาดความเชื่อมั่น/เชื่อใจต่อระบบการศึกษาของภาครัฐ
ปฏิเสธระบบการศึกษาของภาครัฐ
ไม่ไปเรียนเพราะถูกล้อเลียน
ลาออกกลางคัน
ครอบครัว ชุมชนและสังคม ครอบครัวแตกแยก
กำพร้า พ่อแม่ หรือคนใดคนหนึ่ง ครอบครัวแตกแยก
กำพร้า/ไม่ได้อยู่กับ พ่อแม่ หรือคนใดคนหนึ่ง
ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากชุมชน /สังคม
อาชีพและการมีรายได้ ได้รับการสนับสนุนด้านการฝึกอาชีพจากภาครัฐแต่ไม่เหมาะสมกับความต้องการหรือความสามารถของเด็ก
เช่นอาชีพของเด็กพิการ ครอบครัวขาดรายได้
ค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ
ต้องนำเงินไปดำเนินการเรื่องคดี
การเข้าถึงสิทธิการช่วยเหลือเยียวยา ล่าช้า
ไม่รู้สิทธิของตน
ผู้ดูแลเด็กไม่แจ้งสิทธิของเด็กให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้รับสิทธิการช่วยเหลือน้อยกว่า
เด็กและครอบครัวปฏิเสธการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ
จากตาราง สามารถอธิบายรายละเอียดในแต่ละมิติความมั่นคงโดยเปรียบเทียบเด็กสองกลุ่มได้ดังนี้
มิติด้านสุขภาพ
เด็กที่อยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ต่างได้รับผลกระทบต่อสิทธิในการมีชีวิตและส่งผลต่อกระทบร่างกาย สุขภาพอนามัยหลายประการ โดยสภาพเหตุความรุนแรงที่เด็กได้ประสบมากที่สุด คือ ระเบิด รองลงมาคือ ถูกยิง วางเพลิง และถูกทำร้าย ส่วนผลที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่ประสบมากที่สุดคือ บาดเจ็บ และหายดีแล้ว โดยมีเด็กบางส่วนยังต้องใช้เวลาพักฟื้นและตกอยู่ในสภาพพิการ/ทุพลภาพ และสูญหาย นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบทางจิตใจจนส่งผลต่อสุขภาพทางจิตเช่น อาการซึมเศร้าหรือหวาดกลัว ฯลฯ
ในขณะที่จากการศึกษาหากพิจารณาเด็กกลุ่มพิเศษพบว่า มักจะได้รับผลกระทบทางกายน้อยกว่า แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบต่อสุขภาพกาย อันเนื่องมาจากความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงหรือการใช้อาวุธทั้งจากการถูกลอบยิงหรือการปะทะระหว่างบุคคลในครอบครัวกับเจ้าหน้าที่รัฐ
อย่างไรก็ตามผลกระทบทางด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในวงกว้างต่อเด็กในพื้นที่ ซึ่งเด็กทั้งสองกลุ่มได้รับผลกระทบคือ ด้านสุขภาพจิตใจ ซึ่งในเด็กกลุ่มพิเศษจะมีรายละเอียดบางประการแตกต่างกับเด็กทั่วไป กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีอารมณ์ซึมเศร้า ขาดความเนื่องจากขาดความอบอุ่นเพราะต้องไปอาศัยอยู่กับญาติ หรือต้องอยู่หลายบ้าน ในบางกรณีเด็กไม่ได้สัมผัสพ่อเพราะถูกคุมขังขณะแม่ตั้งครรภ์ทำให้เขามีอาการปฏิเสธพ่อ หรือในกรณีที่แม่ถูกคุมขังก็เช่นเดียวกัน พบว่าเมื่อเด็กเจอกับแม่ในระยะแรกจะมีอาการปฏิเสธแม่ เนื่องจากเขินอายหรือเห็นเป็นคนแปลกหน้า ในขณะที่เด็กบางรายจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวหวาดระแวงในการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากต้องพบเห็นการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าติดตามผู้กระทำผิด ทำให้การปิดล้อม ตรวจค้น จับกุมชาวบ้านหรือบุคคลในครอบครัวเด็ก ในขณะที่อีกด้านหนึ่งพบว่า เด็กกลับมีนิสัยเคยชินและไม่หวาดกลัวต่อความรุนแรงหรืออาวุธสงคราม เนื่องจากเป็นสิ่งที่พบเจอจนถือเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ เด็กกลุ่มนี้บางส่วนยังมีทัศนคติเชิงลบกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ รวมถึงมีความรู้สึกเจ็บปวดต่อการไม่ได้รับความยุติธรรมหรือเสียใจกับการถูกพลัดพรากจากบุคคลในครอบครัว
ด้านการศึกษา
การศึกษาของเด็กในพื้นที่ชายแดนใต้ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานการส่งเสริมสวัสดิภาพและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเด็กที่ระบุไว้ว่า เด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเข้าถึงแหล่งทุนการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนเด็กอ่านหนังสือไม่ออกกับเขียนหนังสือไม่ได้มีสูงมาก
คุณภาพการศึกษาของเด็กในพื้นที่ความไม่สงบด้อยกว่าพื้นที่อื่นของประเทศไทย เนื่องจากสาเหตุบางประการ ดังนี้
1 เวลาเรียนไม่พอ เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุการณ์โรงเรียนถูกเผา โดนระเบิดหรือครูประสบเหตุอันเนื่องจากสถานการณ์ โรงเรียนจะมีการหยุดการเรียนการสอน ในกรณีที่โรงเรียนถูกเผา เกิดจากการสร้างสถานการณ์ข่มขู่ มิให้ีมีการเรียนการสอน หลายๆครั้งที่ข่มขู่ประชาชนด้วยการเผาโรงเรียนอันเป็นศูนย์ความรู้ของเด็ก ครูมักจะถูกคุกคาม เพื่อมิให้ครูมาสอนหนังสือ และโรงเรียนต้องหยุดการเรียนการสอน การเผาโรงเรียนดูเหมือนว่าต้องการสร้างสถานการณ์ ให้ครูและประชาชนในพื้นที่หวาดระแวง แต่มีข้อสังเกตว่าเป็นเพียงการจัดฉาก เพื่อต้องการให้โรงเรียนปิดและบีบบังครูให้ลาออกทางอ้อม สำหรับเด็กก็มีปัญหาตรงที่ว่า เมื่อโรงเรียนถูกเผาทำให้ไม่มีห้องเรียนและบ่อยครั้งเด็กก็ไม่มาเรียน เพราะคิดว่าไม่มีห้องให้เรียน แต่ก็มีบางโรงเรียนที่โดนเผาแล้ว ครูและเด็กยังคงสอนและเรียนไปตามปกติ แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่อยู่ในใจของครูและเด็กก็ยังมีความ