ถึงแม้อินโดนีเซียจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในภูมิภาคอาเซียน แต่เนื่องจากจำนวนประชากรที่มาก (อันดับ 4 ของโลก) ส่งผลให้รายได้ ประชาชาติต่อหัวของอินโดนีเซียค่อนข้างต่ำ อินโดนีเซียจึงยังถูกจัดให้อยู่ในสถานะของประเทศกำลังพัฒนา
แม้ว่าหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะสามารถเจริญเติบโตได้ อย่างน่าพอใจและมีเสถียรภาพ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยธรรมชาติ (สึนามิ ปี 2547) หรือ ภัยจากการก่อการร้าย (เกาะบาหลี ปี 2545 และ 2548) นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศแบบผูกขาดจาก อดีตประธานาธิบดี ซูฮาโต ประเทศอินโดนีเซียได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ภายในประเทศของตนในทุกๆ ด้าน เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้เกิดขึ้นภายใน ประเทศและลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประชาชน นอกจากนี้แล้วยังได้ ปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อ เนื่องอีกด้วย เพื่อรองรับต่อการ พัฒนาของประเทศ และเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค นโยบายด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ มุ่งเน้นการขยายตัวของการ บริโภคในประเทศ (Consumption) และการลงทุน (Investment) เป็น ปัจจัยหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโต
เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันมากมาย ในอดีตที่ผ่านมาเศรษฐกิจหลัก จึงพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังจากเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันโลก อินโดนีเซียจึงได้พัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆขึ้นมาด้วย อาทิเช่น อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากน้ำมันที่ทำรายได้ให้ประเทศมากที่สุดแล้ว อินโดนีเซียยังมีทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆที่อุดมสมบูรณ์มากมาย โดยเป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นยังมีการทำการเกษตรปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาติ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ตลาดส่งออกที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์